- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 มีนาคม 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,788 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,886 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,244 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,202 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,266 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,206 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,367 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,331 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,247 บาท /ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 546 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,241 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 6 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.0870 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ไทยส่งออกข้าวเดือนมกราคม 2564ทั้งปริมาณและมูลค่าร่วงอยู่ที่อันดับ4 ของโลก เหตุเพราะผู้ส่งออกข้าวไทยยังคงประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด ประกอบกับราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง คาดเดือนกุมภาพันธ์ ส่งออกได้ประมาณ 4-5 แสนตัน จากสัญญาค้างส่งมอบ
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวในเดือนมกราคม 2564 ว่า มีปริมาณ 421,477 ตัน มูลค่า 7,826 ล้านบาท โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.2 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2563 ที่มีปริมาณการส่งออก 480,102 ตัน มูลค่า 9,257 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยหล่นลงไปอยู่ในอันดับที่ 4 เมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ ซึ่งนำโดย อินเดีย เวียดนาม และปากีสถาน เนื่องจากผู้ส่งออกข้าวไทยยังคงประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือ
ที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด ประกอบกับราคาข้าวไทยยังคงสูงกว่าคู่แข่งมากจึงทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่า ส่งผลให้การส่งออกข้าวขาวมีปริมาณ 145,084 ตัน ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศแคเมอรูน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จีน โมซัมบิก ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวนึ่งมีปริมาณ 118,174 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ส่งไปตลาดหลัก
ในแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ เยเมน เบนิน แคเมอรูน เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว) มีปริมาณ 97,971 ตันลดลงร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ฮ่องกง จีน แคนาดา สิงคโปร์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ คาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณส่งออกข้าวจะอยู่ที่ประมาณ 400,000-500,000 ตัน เนื่องจากผู้ส่งออกยังคงมีสัญญาค้างส่งมอบให้กับผู้ซื้อในแถบแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ทั้งในส่วนของข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวหอมมะลิ ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ๆ ยังมีปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากราคาข้าวขาวและข้าวนึ่งของไทยยังคงสูงกว่าคู่แข่งมาก ประกอบกับค่าเงินบาทก็ยังคงอยู่ในทิศทางแข็งค่า ส่งผลให้ในขณะนี้ข้าวขาว 5% ของไทยราคาตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน ตันละ 513-517 398-402 และ 438-442 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ส่วนข้าวนึ่งของไทยราคาตันละ 557 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาข้าวนึ่งของอินเดีย และปากีสถาน ตันละ 383-387 และ 457-461 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ
จากข้อมูลกรมศุลกากร การส่งออกข้าวในเดือนมกราคม 2564 มีปริมาณ 421,477 ตัน มูลค่า 7,826.1 ล้านบาท หรือ 262.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 23.2 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีการส่งออกปริมาณ 548,958 ตัน มูลค่า 9,342.7 ล้านบาท หรือ 312.1
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา: www.thansettakij.com
อินเดีย
อาจส่งออกข้าวได้มากเป็นประวัติการณ์หนุนความมั่นคงทางอาหารในช่วงโควิด โดยหน่วยงานด้านสถิติของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดียเปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือน (เมษายน – ธันวาคม2563) การส่งออกข้าว
ทุกประเภทของอินเดียในภาพรวมขยายตัวถึงร้อยละ 80.37 ด้วยปริมาณ 11.58 ล้านตัน ส่วนมูลค่ามีการขยายตัว
ร้อยละ44ด้วยมูลค่า 1.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 1.34 แสนล้านบาท
โดยในช่วง 9 เดือนดังกล่าว การส่งออกข้าวของอินเดีย จำแนกเป็นข้าวบาสมาติจำนวน 3.38 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ29 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และการส่งออกข้าวชนิดอื่นที่ไม่ใช่บาสมาติ(Non-basmati Rice) จำนวน 8.2
ล้านตัน ขยายตัว 1.29เท่า โดยคาดว่าการส่งออกข้าวจะขยายตัวต่อเนื่องในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อมากที่สุดของปีโดยสมาคม All India Rice Exporters Association คาดว่าในช่วงปี 2563 - 2564 (เมษายน 2563 –มีนาคม 64) การส่งออกข้าวทั้งหมดของอินเดียอาจสูงถึง 15 ล้านตัน เป็นข้าวบาสมาติ 5 ล้านตัน และข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติอีกไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ทั้งนี้ ในช่วงปี 2562-2563 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติได้ 4.54 ล้านตัน และส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติเพียง 5.04 ล้านตัน
การส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียมีตลาดหลัก ได้แก่ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อิรัก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และ คูเวตในขณะที่ตลาดของการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติได้แก่ เนปาล เบนิน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โซมาเลีย ไอวอรีโคสต์โตโกไนเจอร์ และไลบิเรีย รวมทั้งบางประเทศในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดย All India Rice Exporters Association มองว่าการขยายตัวของตลาดข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติเป็นผลมาจากตลาดจีนที่หันมานําเข้าจากอินเดียหลังจากที่ไม่ได้นำเข้าในช่วงสองปีที่ผ่านมาโดยต้องการข้าวหักจากอินเดียตอนใต้เพื่อใช้ในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวและอุตสาหกรรมไวน์ในขณะเดียวกันราคาข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติของอินเดียมีระดับที่ต่ำกว่าข้าวไทยและเวียดนามประมาณร้อยละ 10 เนื่องจาก
ทั้งสองประเทศมีผลผลิตลดลงจากภาวะภัยแล้งทำให้ข้าวในช่วงนี้มีราคาสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวของอินเดียกําลังประสบความท้าทายคือการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ Kakinada เพื่อการขนส่งไปยังจีน ซึ่งภาคเอกชนของอินเดียกําลังผลักดันให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกในการส่งออกข้าว
ที่รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) เพื่อลดความแออัดและระยะเวลาจาก 4 สัปดาห์ให้เหลือ 1 สัปดาห์เพื่อลดต้นทุนในการจอดเรือสินค้า
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเพื่อการส่งออกข้าวไทย
1. All India Rice Exporters Association ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินเดียสามารถส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติได้เพิ่มขึ้นมาจากราคาข้าวนึ่ง (5% Broken Parboiled Rice) ของอินเดียมีราคาเพียงตันละ 402-408ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่เวียดนามขายตันละ510-515ดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยขายตันละ540ดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านมูลค่าข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติในอินเดียมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนธันวาคม2563 มีราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 11.63 บาท และเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 13.36 บาทในเดือนมกราคม 2564 ขณะที่ราคาขายปลีกอยู่ที่กิโลกรัมละ 15.51 บาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนนี้ด้วย ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ
ของอินเดียสูงเป็นประวัติการณ์นอกจากนี้ การที่หลายประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางอาหารจากภาวะโรคระบาดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดคำสั่งซื้อข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติเพิ่ม เพื่อสำรองข้าวไว้ในคลัง โดยเฉพาะจากบังกลาเทศและหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกา
2. อินเดียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ ซึ่งอินเดียมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าและ
มีข้าวบาสมาติสำหรับการบริโภคภายในประเทศอย่างเพียงพอจึงสามารถส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติได้เต็มที่ในระยะยาว ไทยควรแข่งขันในด้านคุณภาพมากขึ้น โดยอาจสนับสนุนการส่งออกข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพ อาทิข้าวออร์แกนิค
ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำข้าวกล้อง และผลิตภัณฑ์จากข้าวที่เพิ่มเติมสารอาหาร อาทิ ข้าวพอง (Rice Flake) และข้าวเม่า (Puffed Rice) ซึ่งมีความต้องการบริโภคทั้งในตลาดอินเดียและประเทศอื่น นอกจากนี้ ผู้ส่งออกข้าวไทยอาจพิจารณานําระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ด้วยเพื่อสร้างความแตกต่างและความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในตลาดที่คำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. สำหรับตลาดอินเดีย ไทยเป็นแหล่งนําเข้าข้าวอันดับหนึ่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ไทยส่งออกข้าว
ไปอินเดียเป็นมูลค่า 1.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ9.01 จากปี 2562 และครองตลาดอินเดียในสัดส่วนร้อยละ33.96 ตามด้วยสเปน ร้อยละ 16.8 ตุรกี ร้อยละ 13.38 โอมาน ร้อยละ 9.95 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 8.18 และคูเวต ร้อยละ 5.43 โดยครึ่งหนึ่งเป็นการนําเข้าข้าวขาวซึ่งมีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ89.13 จากปี 2562 ตามด้วยข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวเหนียว ซึ่งก่อนภาวะโรคระบาดพบว่าตลาดอินเดียมีความสนใจข้าวไทยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอย่างข้าวกล้อง และข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น ซึ่งควรมีการส่งเสริมให้มีการนําข้าวเหล่านี้มาประกอบอาหารในรูปแบบใหม่ๆ และการผสมกับข้าวบาสมาติเพื่อเพิ่มคุณค่าและสร้างภูมิคุ้มกัน
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,788 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,886 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,244 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,202 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,266 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,206 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,367 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,331 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,247 บาท /ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 546 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,241 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 6 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.0870 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ไทยส่งออกข้าวเดือนมกราคม 2564ทั้งปริมาณและมูลค่าร่วงอยู่ที่อันดับ4 ของโลก เหตุเพราะผู้ส่งออกข้าวไทยยังคงประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด ประกอบกับราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง คาดเดือนกุมภาพันธ์ ส่งออกได้ประมาณ 4-5 แสนตัน จากสัญญาค้างส่งมอบ
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวในเดือนมกราคม 2564 ว่า มีปริมาณ 421,477 ตัน มูลค่า 7,826 ล้านบาท โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.2 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2563 ที่มีปริมาณการส่งออก 480,102 ตัน มูลค่า 9,257 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยหล่นลงไปอยู่ในอันดับที่ 4 เมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ ซึ่งนำโดย อินเดีย เวียดนาม และปากีสถาน เนื่องจากผู้ส่งออกข้าวไทยยังคงประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือ
ที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด ประกอบกับราคาข้าวไทยยังคงสูงกว่าคู่แข่งมากจึงทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่า ส่งผลให้การส่งออกข้าวขาวมีปริมาณ 145,084 ตัน ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศแคเมอรูน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จีน โมซัมบิก ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวนึ่งมีปริมาณ 118,174 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ส่งไปตลาดหลัก
ในแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ เยเมน เบนิน แคเมอรูน เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว) มีปริมาณ 97,971 ตันลดลงร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ฮ่องกง จีน แคนาดา สิงคโปร์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ คาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณส่งออกข้าวจะอยู่ที่ประมาณ 400,000-500,000 ตัน เนื่องจากผู้ส่งออกยังคงมีสัญญาค้างส่งมอบให้กับผู้ซื้อในแถบแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ทั้งในส่วนของข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวหอมมะลิ ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ๆ ยังมีปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากราคาข้าวขาวและข้าวนึ่งของไทยยังคงสูงกว่าคู่แข่งมาก ประกอบกับค่าเงินบาทก็ยังคงอยู่ในทิศทางแข็งค่า ส่งผลให้ในขณะนี้ข้าวขาว 5% ของไทยราคาตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน ตันละ 513-517 398-402 และ 438-442 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ส่วนข้าวนึ่งของไทยราคาตันละ 557 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาข้าวนึ่งของอินเดีย และปากีสถาน ตันละ 383-387 และ 457-461 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ
จากข้อมูลกรมศุลกากร การส่งออกข้าวในเดือนมกราคม 2564 มีปริมาณ 421,477 ตัน มูลค่า 7,826.1 ล้านบาท หรือ 262.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 23.2 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีการส่งออกปริมาณ 548,958 ตัน มูลค่า 9,342.7 ล้านบาท หรือ 312.1
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา: www.thansettakij.com
อินเดีย
อาจส่งออกข้าวได้มากเป็นประวัติการณ์หนุนความมั่นคงทางอาหารในช่วงโควิด โดยหน่วยงานด้านสถิติของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดียเปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือน (เมษายน – ธันวาคม2563) การส่งออกข้าว
ทุกประเภทของอินเดียในภาพรวมขยายตัวถึงร้อยละ 80.37 ด้วยปริมาณ 11.58 ล้านตัน ส่วนมูลค่ามีการขยายตัว
ร้อยละ44ด้วยมูลค่า 1.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 1.34 แสนล้านบาท
โดยในช่วง 9 เดือนดังกล่าว การส่งออกข้าวของอินเดีย จำแนกเป็นข้าวบาสมาติจำนวน 3.38 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ29 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และการส่งออกข้าวชนิดอื่นที่ไม่ใช่บาสมาติ(Non-basmati Rice) จำนวน 8.2
ล้านตัน ขยายตัว 1.29เท่า โดยคาดว่าการส่งออกข้าวจะขยายตัวต่อเนื่องในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อมากที่สุดของปีโดยสมาคม All India Rice Exporters Association คาดว่าในช่วงปี 2563 - 2564 (เมษายน 2563 –มีนาคม 64) การส่งออกข้าวทั้งหมดของอินเดียอาจสูงถึง 15 ล้านตัน เป็นข้าวบาสมาติ 5 ล้านตัน และข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติอีกไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ทั้งนี้ ในช่วงปี 2562-2563 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติได้ 4.54 ล้านตัน และส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติเพียง 5.04 ล้านตัน
การส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียมีตลาดหลัก ได้แก่ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อิรัก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และ คูเวตในขณะที่ตลาดของการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติได้แก่ เนปาล เบนิน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โซมาเลีย ไอวอรีโคสต์โตโกไนเจอร์ และไลบิเรีย รวมทั้งบางประเทศในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดย All India Rice Exporters Association มองว่าการขยายตัวของตลาดข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติเป็นผลมาจากตลาดจีนที่หันมานําเข้าจากอินเดียหลังจากที่ไม่ได้นำเข้าในช่วงสองปีที่ผ่านมาโดยต้องการข้าวหักจากอินเดียตอนใต้เพื่อใช้ในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวและอุตสาหกรรมไวน์ในขณะเดียวกันราคาข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติของอินเดียมีระดับที่ต่ำกว่าข้าวไทยและเวียดนามประมาณร้อยละ 10 เนื่องจาก
ทั้งสองประเทศมีผลผลิตลดลงจากภาวะภัยแล้งทำให้ข้าวในช่วงนี้มีราคาสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวของอินเดียกําลังประสบความท้าทายคือการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ Kakinada เพื่อการขนส่งไปยังจีน ซึ่งภาคเอกชนของอินเดียกําลังผลักดันให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกในการส่งออกข้าว
ที่รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) เพื่อลดความแออัดและระยะเวลาจาก 4 สัปดาห์ให้เหลือ 1 สัปดาห์เพื่อลดต้นทุนในการจอดเรือสินค้า
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเพื่อการส่งออกข้าวไทย
1. All India Rice Exporters Association ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินเดียสามารถส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติได้เพิ่มขึ้นมาจากราคาข้าวนึ่ง (5% Broken Parboiled Rice) ของอินเดียมีราคาเพียงตันละ 402-408ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่เวียดนามขายตันละ510-515ดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยขายตันละ540ดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านมูลค่าข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติในอินเดียมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนธันวาคม2563 มีราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 11.63 บาท และเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 13.36 บาทในเดือนมกราคม 2564 ขณะที่ราคาขายปลีกอยู่ที่กิโลกรัมละ 15.51 บาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนนี้ด้วย ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ
ของอินเดียสูงเป็นประวัติการณ์นอกจากนี้ การที่หลายประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางอาหารจากภาวะโรคระบาดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดคำสั่งซื้อข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติเพิ่ม เพื่อสำรองข้าวไว้ในคลัง โดยเฉพาะจากบังกลาเทศและหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกา
2. อินเดียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ ซึ่งอินเดียมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าและ
มีข้าวบาสมาติสำหรับการบริโภคภายในประเทศอย่างเพียงพอจึงสามารถส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติได้เต็มที่ในระยะยาว ไทยควรแข่งขันในด้านคุณภาพมากขึ้น โดยอาจสนับสนุนการส่งออกข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพ อาทิข้าวออร์แกนิค
ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำข้าวกล้อง และผลิตภัณฑ์จากข้าวที่เพิ่มเติมสารอาหาร อาทิ ข้าวพอง (Rice Flake) และข้าวเม่า (Puffed Rice) ซึ่งมีความต้องการบริโภคทั้งในตลาดอินเดียและประเทศอื่น นอกจากนี้ ผู้ส่งออกข้าวไทยอาจพิจารณานําระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ด้วยเพื่อสร้างความแตกต่างและความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในตลาดที่คำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. สำหรับตลาดอินเดีย ไทยเป็นแหล่งนําเข้าข้าวอันดับหนึ่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ไทยส่งออกข้าว
ไปอินเดียเป็นมูลค่า 1.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ9.01 จากปี 2562 และครองตลาดอินเดียในสัดส่วนร้อยละ33.96 ตามด้วยสเปน ร้อยละ 16.8 ตุรกี ร้อยละ 13.38 โอมาน ร้อยละ 9.95 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 8.18 และคูเวต ร้อยละ 5.43 โดยครึ่งหนึ่งเป็นการนําเข้าข้าวขาวซึ่งมีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ89.13 จากปี 2562 ตามด้วยข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวเหนียว ซึ่งก่อนภาวะโรคระบาดพบว่าตลาดอินเดียมีความสนใจข้าวไทยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอย่างข้าวกล้อง และข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น ซึ่งควรมีการส่งเสริมให้มีการนําข้าวเหล่านี้มาประกอบอาหารในรูปแบบใหม่ๆ และการผสมกับข้าวบาสมาติเพื่อเพิ่มคุณค่าและสร้างภูมิคุ้มกัน
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.77 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.26 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.15
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,586 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 325.75 ดอลลาร์สหรัฐ (9,690 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19 และลดลงในรูปของ เงินบาทตันละ 104.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 553.28 เซนต์ (6,648 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 554.80 เซนต์ (6,595 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 53.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.74 ล้านตัน (ร้อยละ 22.39 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมันเส้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดปรับตัวสูงขึ้นแม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.13 บาทราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.12 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.86 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.17
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.99 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.01
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.65 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,913 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,823 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,532 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,532 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.438 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.259 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 และร้อยละ 41.53 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.15 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.05 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 14.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 36.40 บาท ลดลงจาก กก.ละ 37.44 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.78
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,930.21 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,967.84 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,093.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.36 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,106.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.22
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อินเดียผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 23.377 ล้านตัน ในปีการผลิต 2563/2564 ลดลง 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ผลผลิตในรัฐมหาราษฎระสูงถึง 8.485 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 5.07 ล้านตัน ในปีที่แล้ว ในขณะที่รัฐอุตรประเทศผลิตน้ำตาลได้ 7.42 ล้าน น้อยกว่าปีที่แล้วที่ 7.686 ล้านตัน ในปีนี้มีโรงงานน้ำตาล 502 โรงงานที่เปิดดำเนินการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 453 โรงงาน ในปีที่แล้วแม้ว่าโรงงานน้ำตาล 98 โรงงานจะยุติการเก็บเกี่ยวไปแล้วเทียบกับ 70 โรงงาน ในวันเดียวกันของปีที่แล้วโรงงานน้ำตาลอาจต้องพยายามเพื่อจัดการ
กับหนี้ที่ค้างชำระในปีนี้ เนื่องจากราคาน้ำตาลอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่มีการเรียกร้องให้เพิ่มราคาสนับสนุนขั้นต่ำ (MSP) ของน้ำตาลเป็น 34.5 รูปี/กก. (0.5 เหรียญสหรัฐฯ/กก.) จากเดิมที่ 31 รูปี/กก. (0.4 เหรียญสหรัฐฯ/กก.)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,413.28 เซนต์ (15.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,404.88 เซนต์ (15.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 416.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 425.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.83 เซนต์ (34.86 บาท/กก.) สูงขึ้น
จากปอนด์ละ 49.96 เซนต์ (33.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.74
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,413.28 เซนต์ (15.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,404.88 เซนต์ (15.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 416.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 425.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.83 เซนต์ (34.86 บาท/กก.) สูงขึ้น
จากปอนด์ละ 49.96 เซนต์ (33.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.74
ยางพารา
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 89.18 เซนต์(กิโลกรัมละ 60.01 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 92.12 เซนต์ (กิโลกรัม 61.31 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.30 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,865 บาท สูงขึ้นจาก 1,848 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,865 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,529 บาท สูงขึ้นจาก 1, 510 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,529 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 75.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.04 คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 74.32 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.63 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,600 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท สูงขึ้นจาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.68 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่ผ่าน เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.81 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 34.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อยจากการเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 275 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 276 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.36 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 306 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.76 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.22 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.06 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี